Last updated: 7 ม.ค. 2564 | 794 จำนวนผู้เข้าชม |
"อาลัยหรีด" ขอขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจและให้เราดูแล
ช่องทางการสั่งซื้อ
โทร - 0959563384
LINE : @arw4
วัดสามพระยาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ท้องที่แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดสามพระยาเดิมเป็นวัดราษฎร์ เรียกว่าวัดสักบ้าง วัดบางขุนพรหมบ้าง สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะมาโดยลำดับ
ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระยาราชภักดี (สิงห์ทอง) ๑ พระยาเทพอรชุน (ทองปาน) ๑ พระยาราชวรานุกูล (ทองคำ) ๑ รวมสามคนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ตามประวัติว่า ท่านบิดาชื่อมะทอเปิ้น อพยพมาจากรามัญประเทศ แต่ท่านมารดาไม่ปรากฏนาม ท่านทั้งสามได้จัดสร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ เสร็จแล้วจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นวัดหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “วัดสามพระยา”
ผู้สร้างวัดสามพระยา นอกจากพระยาทั้งสามนั้นแล้ว ยังมีอีกท่านหนึ่งตามที่สืบถามได้ความว่า คือพระยาเกษตรรักษา (บุญชู) ซึ่งเป็นน้องเล็กของพระยาทั้งสาม แต่ในเวลาที่สร้างวัดนั้น ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระพิพิธโภไคย จึงไม่ปรากฏชื่อในนามของผู้สร้างวัด ท่านผู้นี้ได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่กับครอบครัวของท่าน ณ ที่บริเวณใกล้ชิดกับวัดสามพระยานี้ และได้อุปถัมภ์บำรุงวัดตลอดมาจนถึงบุตรหลานของท่าน ซึ่งได้เจริญรอยตามเป็นลำดับมา
พระเทพราชแสนยา (แม้น บุณยเกศานนท์) หลานของพระยาเกษตรรักษา (บุญชู) เป็นผู้เดียวที่ยังคงอยู่บ้านเดิมติดกับวัดสามพระยาจนกระทั่งถึงแก่กรรม ท่านได้ยกทรัพย์สมบัติถวายวัดสามพระยา (ดูรายการทรัพย์สินของวัดสามพระยาหน้าต่อไป) คือที่ธรณีสงฆ์ ๔ แปลงที่ ๑ – แปลงที่ ๔
ตามข้อนี้สมด้วยเรื่องที่เล่ากันมาว่า พระยาเกษตรรักษา (บุญชู) เป็นผู้สร้างวัดสามพระยาด้วยอีกท่านหนึ่งนั้น ได้ปรากฏมีโคลงกล่าวถึงได้ คือมีพระภิกษุรูปหนึ่งอยู่วัดพระเชตุพน ได้มาหาพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอยู่วัดสามพระยา พอสนทนากันได้สักหน่อย จึงเขียนคำโคลงถามถึงนามท่านผู้สร้างวัดสามพระยาว่า
วัดนี้ผู้ใดสร้าง ทำมา
เรียกนามสามพระยา อย่างนี้
ยินนามแต่ยลหา บ่พบ เลยพ่อ
คุณช่วยวิสัชน์ชี้ เล่าให้เห็นจริง
ภิกษุรูปที่อยู่วัดสามพระยา จึงเขียนตอบเป็นคำโคลงว่า
อ๋อ ผู้ที่ท่านสร้าง อาราม
พระยาราชภักดีตาม ชื่อตั้ง
สองเทพเกษตรสาม สี่ราช นาพ่อ
จึงเรียกนามพร้อมทั้ง เสร็จด้วยสามพระยา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนายิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น เพราะทรงมีพระราชประสงค์ให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความเจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
จึงมีคำกล่าวอยู่ประโยคหนึ่งว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถ้าใครชอบทำบุญ ทำกุศลด้วยการสร้างวัดหรือซ่อมแซมวัด พระองค์ก็โปรด
บรรดาขุนนางและข้าราชบริพารในยุคนั้นจึงพากันเจริญตามรอยพระยุคลบาททำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก.